top of page

วารสารการวิจัยและพัฒนา

         วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน

(Journal of Research and Development,Community Development Department)

          วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน เป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติที่เผยแพร่ผลงาน บทความวิจัย  (Research Articles) และบทความวิชาการ (Academic Article) ที่จัดพิมพ์เผยแพร่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลงานวิชาการจากคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ ประกอบด้วย ผลงานของบุคลากรกรมการพัฒนาชุมชนและภายนอกหน่วยงาน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน เป็นผู้ประเมิน เพื่อพิจารณาคุณค่าและความถูกต้องของผลงานตามหลักวิชาการ มีการกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม - มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม)

วัตถุประสงค์ของวารสาร

          1. เพื่อส่งเสริมแลพะเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ

          2. เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับเครือข่ายทางวิชาการทั้งภายในกรมการพัฒนาชุมชน และภายนอกหน่วยงาน

          3. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะและข้อค้นพบ รวมถึงความคิดริเริ่มที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

 

ขอบเขตของวารสาร

          วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน เปิดรับผลงานด้านต่าง ๆ

                   - ด้านพัฒนาชุมชน

                    - ด้านความเข้มแข็งของชุมชน

                   - ด้านการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

                   - ด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

                    - ด้านการบริหารจัดการองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคไม่แสวงหากำไร    

                   - ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล

                    - ด้านนโยบายสาธารณะในประเด็นต่าง ๆ

                    - ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

ภาษาที่รับตีพิมพ์          ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ

ประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร

          1. บทความวิจัย (Research Article) หมายถึง บทความที่นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าใหม่ ๆ ทั้งในด้านทฤษฎี และด้านปฏิบัติที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในศาสตร์สาขาต่าง ๆ มากขึ้นกว่าเดิม โดยบทความวิจัยมีลักษณะเด่นตรงที่เป็นการนำเสนอปัญหาที่ผู้เขียนได้ศึกษาหรือประเด็นที่ต้องการคำตอบ มีการกำหนดกรอบแนวคิด อ้างอิงแนวคิดทฤษฎี มาวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ

พร้อมทั้งสรุปปัญหาได้อย่างชัดเจน เป็นการสร้างฐานความรู้ที่มีคุณค่าทางวิชาการ ต่อไป

          2. บทความวิชาการ (Academic Article) หมายถึง บทความหรืองานเขียนซึ่งมีการทบทวนวรรณกรรม และสำรวจองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ และสรุปผล

ในประเด็นที่ศึกษา

Peer Review Process

     บทความจะต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งกองบรรณาธิการมีหลักเกณฑ์การพิจารณาผลงานดังนี้

    1. ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณาเนื้อหาสาระ และคุณภาพทางวิชาการ (Peer Review)

    2. สำหรับบทความที่เป็นส่วนของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องตามข้อกำหนดรูปแบบการจัดพิมพ์บทความโดยกองบรรณาธิการก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ

    3. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตัดสิทธิ์การตีพิมพ์ ในกรณีที่บทคัดย่อ บทความไม่ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด รวมถึงไม่แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือแก้ไขไม่ทันตามกำหนด

    4. ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของผู้เขียนและสงวนสิทธิ์ทางกฎหมาย การตีพิมพ์ซ้ำจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

    5. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ลงวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว

    6. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว

 

          กองบรรณาธิการได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำวารสารตั้งแต่การคัดเลือกบทความ โดยกองบรรณาธิการตรวจสอบรูปแบบก่อนนำส่งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณากลั่นกรองบทความ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความละ 3 ท่านต่อบทความ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการและในการประเมิน ใช้รูปแบบผู้ประเมินไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Double blind peer review process)

 

การตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น

วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ได้กำหนดค่าความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม อักขราวิสุทธิ์ โดยบทความต้องไม่เกิน 15% 

S__81731693.jpg

วารสารการวิจัยและพัฒนา 
กรมการพัฒนาชุมชน Vol.1 ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน 2568)

S__81649734_0.jpg

บทความวิจัย

นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้งส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร กรณีศึกษาบ้านโปร่งสำโหรง หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมของพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบ

ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ (BCG) กลุ่มทอผ้าบ้านคูขาดน้อยหมู่ที่ 4 ตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

การพัฒนาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ โคก หนอง นา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก

รูปแบบที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเทศบาลเมืองปรกฟ้า ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

การประเมินความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้รูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมในการพัฒนาพื้นที่นำร่องต้นแบบตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

การพัฒนาเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การจัดการความปลอดภัยในการทำงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการ จังหวัดสมุทรปราการ

บทความวิชาการ

แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสู่การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การศึกษาความเข้มแข็งของกลุ่มตลาดเกษตรกรตัวจริงทุกสิ่งปลอดภัย

จังหวัดมหาสารคาม

ติดต่อกองบรรณาธิการวารสารฯ

02 - 141 - 6389

สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

bottom of page